วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันอังคารที่่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 เวลา 13:30-17:30 น .



............................................ START......................................

Science Experiences Management for Early Childhood
( การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย )

สวัสดียามบ่าย วันนี้เป็นวันอังคาร บ่ายบ่ายแบบนี้แน่นอนเราจะมาพบกับการเรียนการสอนในวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ 


  • อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น เพื่อคัดตัวอักษรพยัชนะไทย หัวกลมตัวเหลี่ยม
  • กิจกรรมต่อมา ขอตั้งชื่อกิจกรรมนี้ว่า "มิติแห่งมือ" อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนลพ 1 แผ่น ให้นักศึกษาวาดมือของตนเองลงไปโดยใช้มือในการทาบแล้ววาดตามรอย เมื่อได้ขนาดมือมาแล้วจากนั้นก็นำสีที่มีความต่างมาลากตามมือสลับสีอื่นด้วย ตัวอย่างภาพดูได้ที่รูปภาพประกอบกิจกรรม สิ่งที่ได้จากกิจกกรมนี้คือ รูปมือที่เป็นสามมิติ
  • ต่อมาส่งงานที่ำด้รับมอบหมายคือ ภาพหมุน และ ภาพติดตา
  • นำของเล่นของตนเองออกไปนำเสนอ โดยอาจารย์ได้จัดหมวดของเล่นให้ เช่น หมวดเรื่องเสียง หมวดเรื่องแรงดัน เป็นต้น เพื่ออาจารย์จะได้ให้คำแนะนำเสริมเพิ่มเติมได้อย่างลึกซึ่งในแต่ละหมวด เพราะในแต่ละหมวดนั้นถึงแม้จะให้ความรู้และมีจุดหมายในการสอนในเรื่องเดียวกันแต่ก็จะมีความแตกต่างกันอยู่ เพื่อนักศึกษาจะได้ไม่สับสน และมีความเข้ามากยิ่งขึ้น
  • กิจกรรมต่อมา ขอตั้งชื่อว่า "น้ำน้อยกลอยใจ" ในกิจกรรมนี้จะมีการทดลองโดยมีอุปกรณ์มาเสริม จากการทดลองนี้ ทำให้รู้ว่าน้ำนั้นเป็นของเหลวที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
  • กิจกรรมนี้ตั้งชื่อว่า กิจกรรม "ดอกไม้บาน" โดยในกิจกกรรมนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้นัดศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แล้วให้แจกกันให้นักศึกษาทุกคน โดยให้ตัดกระดาาเป็นรูปดอกไม่มีกลีบ เมื่อได้ดอกไม้มาแล้วให้นำสีมาวาดเกสรตรงกลางจากนั้นให้พับกลีบดอกไม้เข้าด้วยกัน อาจารย์จะเตรียมถาดใส่น้ำไว้ให้ ให้นักศึกษานำดอกไม้ของตนเองนั้นไปลอยโดยเอาก้อนของดอกไม้ลง ผลจากการทดลองที่ได้ คือดดอกไม้บานออก เหตุที่ดอกไม้บานออกนั้น คือ กระดาษนั้นมีโมเลกุลไม่หนาแน่จึงทำให้เกิดช่องว่างน้ำเลยแทรกซึมเข้าไปไหลหาที่อยู่
  • ในการถนอมอาหาร นั้นก็เป็นการเอาน้ำออกจากอาหารเพื่อทำให้เก็บได้นาน เช่น กล้วยตาก เนื้อตาก
  • นำเสนองานกลุ่มของตนเองว่ากลุ่มของเรานั้นจะทำของเล่นอะไรเข้าในมุมวิทยาศาสตร์ อาจารย์จะคอยแนะนำว่าเหมาะสมหรือไม่และต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติมบ้าง
  • ตัวอย่างของเล่นอาจารย์ได้นำตัวอย่างของเล่นมาให้นักศึกษาดูเป็นแบบอย่าง

คำศัพท์

Flower = ดอกไม้
Equipment = อุปกรณ์
Paper = กระดาษ
Dimension = มิติ
Water  =  น้ำ


.................................................................................................

รูปภาพประกอบกิจกรรม


✌ คัดลายมือกันเถอะ  ✌ 

มาบมือลงไป
เอ๊า!!ลากๆๆๆ

 เรียบร้อยมิติมือสุดสวยฝีมือเค้าเอง ^o^


ภาพหมุนๆ


ภาพติดตา


ทดลองเรื่อง น้ำๆ💧💧


ดอกไม้บาน 😁

การประยุกต์ใช้

  • มิติมือเราสามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ในกิจกรรมอื่นๆในหน่วยอื่นๆที่เราจะสอนได้เช่น หน่วยกล้วย อาจจะเป็มิติกล้วย เป็นต้น ให้เด็กได้สนุกกับกิจกรรมหลากหลายไม่ซ้ำ
  • ภาพหมุนภาพติดตาก็สามารถนำไปใช้กับกิจกรรมต่างๆได้แล้วแต่ว่าเรานั้นจะจัดกิจกรรมแบบใดเป็นสื่อที่น่าสนใจสำหรับเด็ก
  • กิจกรรมดอกไม้บ้านนั้นเราสามารถเปลี่ยนจากดอกไม้บานเป็นอย่างอื่นก็ได้ตามที่เราต้องการจะให้เด็กเรียนรู้
  • การที่เราจัดกิจกรรมต่างๆให้กับเด็ก ก็เปรียบเหมือนกับว่าเราหยดสีลงไปให้เด็กซึมซับแล้วเด็กก็จะได้สีเกิดใหม่ ได้สิ่งใหม่ๆ (อาจารย์ได้กล่าว)

การประเมิน

การประเมินตนเอง

ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน เป็นอย่างดีมีความเข้าใจเนื้อหา

การประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจและให้ความร่วมมือในการเรียน ทำให้บรรยากาสสนุก

การประเมินอาจารย์

อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีอุปกรณ์สำหรับการทดลองพร้อมอธิบายทำให้เห็นภาพชัดขึ้น



E N D





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น