วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รุ      

บูร  สอนวิทย์คณิตด้วยมายากล

เรามาทำความรู้จักกับ ดร. มาร์ค บิดดิส กันเถอะ 
มาร์คเป็นอดีตนักวิทยาศาสตร์ ที่ผันตัวเองมาเป็นักมายากล มาร์คได้ทำให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุก ทำให้เด็กนั้นอยากเรียนรู้ และยังทำให้ครู้นั้นต้องพัฒนาตนเอง เป้าหมายของมาร์คคือนำมายากลมาผสมกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มายากลจะทำให้เด็กเกิดความสงสัย ทำให้อยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นความสุขความสนุกประหลาดที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับความอยากรู้ 
เราสอนวิท กับ คณิตได้อย่างสร้าสรรค์ด้วยคำถามปลายเปิด เช่น คิดว่าเกิดอะไรขึ้น ? และจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป?
ครูทุกคนนั้นรักการสอนแต่การสอน วิท และ คณิต อาจจะล้าหลัง และมาร์คได้แสดงให้เห็นว่าการสอนวิทกับคณิตนั้นมีหลายวิธี
การให้เด็กลองทำหลายๆครั้งจะทำให้เด็กสามารถนึกภาพและลำดับขั้นตอนในใจได้เป็ฯการให้เด็กคิกตามและสนุกกับเรื่องนั้นๆ วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนแต่สิ่งที่น่าสนใจคือการทดลองที่เกิดขึ้นสามารถทำให้เด็กเห็นว่า วิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์นั้นสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน  
ในการสอนให้หาสิ่งของที่เห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ขวดน้ำ ลูกโป่ง ดินสอ หลอด กระดาษ เป็นต้น เด็กจะได้รู้จักและหาเล่นเองได้
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายวิธี เช่น ใช้ในวิชาเรียน ใช้เป็นกิจกรมก่อนเข้าเรียน กิจกรรมหลังเรียน ชุมนุม เป็นต้น 
การสอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ต้องให้เด็กคิดว่าคณิตนั้นไม่เกี่ยวกับตัวเลขเสมอไปให้เด็กได้สังเกตเอง และเมื่อเราบอกว่านี่เป็นมายากลจะทำให้เด็กสนใจมากขั้น 
ประโยชน์กับเด็ก ? แน่นอนเด็กนั้นจะคิดนอกกรอบนอกเหนือจากในหนังสือ คิดว่าวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุก การเข้าหาเด็กด้วยการนำมายากกลมาบูรณาการนี้ จะช่วยให้เด็กได้ฝึกสมองในการแก้ไขปัญหา การสื่อสาร การใช้เหตุและผล ฝึกให้เด็กแสดงความคิดเห็น เมื่อเราเข้าถึงเด็กได้ทำให้เด็กหัวเรามีความสุขกับการเรียน ทักษะความคิดสร้างสรรค์ก็จะเกิดขึ้นเองนี่แหละคือปัจจัยสำคัญในการสร้างพัฒนาการ 💖💖💖💖💖💖💖


                         
     



     E             N            D    




     

ลูรื่


การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ 
  • ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น 
  • ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การสอนเรื่องไฟฉายสำคัญอย่างไร
  •  ไฟฉายจึงเป็นสิ่งของต่างๆรอบตัวที่เด็กควรเรียนรู้  ไฟฉายเป็นเครื่องใช้ที่มีแสงไฟสว่าง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้โดยทั่วไป เช่น คนเดินทางในทางที่มืดๆ เมื่อนำไปใช้ฉายไฟส่องทาง ทำให้เดินทางไปมาได้ปลอดภัยขึ้น หรือใช้ไฟฉายเพื่อการบันเทิงเช่น ใช้ประกอบการเชิดหุ่นเงา ใช้แสดงละคร ใช้เล่นเกมทายเงา ฯลฯ ผู้ประกอบอาชีพต่างๆจะใช้ไฟฉายเป็นเครื่องมือทำงานของตน เช่น แพทย์จะใช้เป็นเครื่องมือส่องไฟตรวจสอบสุขภาพของผู้ป่วย ตำรวจมีไฟฉายสำหรับส่องจับผู้ร้าย จราจรใช้ส่องไฟบอกทาง ช่างซ่อมรถ ซ่อมไฟฟ้า จะใช้ไฟฉายส่องไฟในที่แคบๆมืดๆ ตรวจสอบเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น
  • ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ที่ได้กำหนดสาระที่ควรรู้เรื่อง
  • ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกำหนดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ในสาระที่ 5 : พลังงาน มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อ สารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
  • การที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เรื่องไฟฉายผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
  • การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระ บวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัด การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป ดังนั้นการที่เด็กได้เรียนรู้เรื่องไฟฉายจึงมีความสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพในช่วงวัยที่ต้องเตรียมความพร้อมก่อนเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
การสอนเรื่องไฟฉายสำคัญอย่างไร
  • ทำให้เด็กเป็นผู้รู้จักการสังเกต รู้จักการถาม และ รู้จักการคาดคะเน หรือการตั้งสมมติฐานที่จะนำไปสู่การกำหนดวิธีการสืบหาความจริงต่อไป
  • ทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อเกิดการเรียนรู้
  • ทำให้เด็กเห็นคุณค่าของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆต่อไป
  • เด็กจะเป็นผู้ที่มีความสามรถในการอธิบายสิ่งที่ค้นพบตามข้อมูลหลักฐานและองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล เนื่องจากเด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการกระทำในสภาพจริง 

  • ได้รับการฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเรื่องไฟฉายเป็นสาระนำทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่
  1.  ทักษะสังเกต (แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แสงจากไฟฉายมีสีเหลืองอ่อน แสงไฟฉายจะสว่างหรือดับ เกิดจากคนเราเป็นผู้ กระทำบังคับสวิทช์ เปิดปิดเอง เป็นต้น) 
  2. ทักษะจำแนกประเภท (จัดกลุ่มไฟฉายตามขนาดใหญ่ เล็ก สี รูปแบบ ฯ)
  3. ทักษะการวัด (วัดความยาวของกระบอกไฟฉาย นับจำนวนถ่านไฟฉาย)
  4. ทักษะการสื่อความหมาย (อธิบายเหตุที่เกิดแสง วาดภาพไฟฉาย และลักษณะของลำแสง)
เกร็ดความรู้
  • ไฟฉายเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ หลอดไฟ และเทียนไข
  • เมื่อแสงจากไฟฉายกระทบวัตถุใดๆ แสงจะสะท้อนจากวัตถุมาเข้าตาเรา เราจึงเห็นวัตถุเหล่านั้นได้







รุวิ จั

การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

วิจัยโดย

ณัฐชุดา สาครเจริญ

  • จุดมุ่งหมายในการค้นคว้า
  1. เพื่อศึกษารัดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ำด้รับการจัดประสบการณ์จากการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังประสบการณ์การใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
  • ความสำคัญ การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูในการใช้นวัฒกรรมการเรียนการสอนด้วยการนำกระบวนการทางศิลปะรูปแบบต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยโดยเน้นการพัฒนาทักษะทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้างพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆให้แก่เด็กปฐมวัย
  • สรุปผลการค้นคว้า พัฒนาการกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยภาพรวมและจำแนกตามทักษะอยู้ในระดับดี

*************************

ตัวอย่างเครื่องมือ





*********** *********** *********






บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ ครั้งที่ 16

บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งที่ 16 วันอังคาที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เวลา13:30 - 17:30 น. 


S       T      A      R       T

Science Experiences Management for Early Childhood
(การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)

ในวันนี้เพื่อนๆได้เตรียมการเรียนการสอนในหน่วยต่างๆมาสาธิตการสอน มีกิจกรรมอะไรกันบ้างไปดูกันเลยยยย 😄

ความรู้ที่ได้รับ

  • ในสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ได้ทำการจับฉลากโดยให้ตัวแทนของแต่ละหน่วยเป็นผู้จับฉลากว่าหน่วยไหนจะสอนวันอะไร และผลก็ออกมาเป็นดังนี้ คือ 
  1. วันจันทร์ หน่วยไก่ สอนเกี่ยวกับสายพันธุ์ของไก่
  2. วันอังคาร หน่วยนม สอนเกี่ยวกับลักษณะของนม
  3. วันพุธหน่วยข้าว สอนเกี่ยวกับการดูแลเก็บรักษาข้าว(น้ำหมักข้าว)
  4. วันพฤหัสบดีหน่วยกล้วย สอนเกี่ยวกับประโยชน์ 
  5. วันศุกร์หน่วยน้ำ ทำคุ๊กกิ้งน้ำอัญชัน (อร่อย)
  6. พิเศษแถมๆหน่วยที่ 6 ส้ม เป็นการสอนแบบ STEM 

S T E M ???

🙆 “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ 
วิทยาศาสตร์ (Science) 
เทคโนโลยี (Technology) 
 วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)
 และคณิตศาสตร์ (Mathematics) 
 หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
เป็น แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่
(1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ 
(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ 
(3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 
(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน 
(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา  จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน   

คำศัพท์

Orange = ส้ม
Ferment = หมัก
Pea flowers = ดอกอัญชัน
Breed = สายพันธุ์
Chicken = ไก่

* * * * * * * * * * * * * * * * * * 

 รูปประกอบกิจกรรม


กุ๊กไก่


นมเป็นอาหารดีมีคุณค่าต่อร่างกาย 👏👏



ข้าว ข้าวน้ำหมักข้าว หอมเครื่องสมุนไพรมาก 😚


กล้วยดีมีประโยชน์


น้ำอัญชัน เปรี้ยวมะนาวหวานน้ำผึ้ง + น้ำเชื่อมนิดหน่อย


หน่วยพิเศษ ส้มส้ม + ของเล่นขวดบ้าพลัง (STEM)



😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸 😸😸😸😸😸😸😸😸😸 😸😸😸😸😸😸😸😸😸

การประยุกต์ใช้ 

  • เราสามมารถนำการสอนของเพื่อที่เราได้เห็นเป็นประสบการณ์นั้นมาปรับใช้ในแบบของเราให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้
  • การเรียนรู้เแบบ STEM ของกลุ่มส้มทำให้เห็ตัวอย่างในการจัดกิจกรรม สามารถนำประสบการณ์นี้ไปใช้ในอนาคตอันใกล้ได้

การประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนและร่วมมือกับเพื่อนๆในการทำกิจกรรม ช่วยงานเพื่อในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายอย่าเต็มที่

การประเมินเพื่อน

เพื่อนๆน่ารักช่วยเหลือกันในการทำงาน มีความสามัคคี ทำให้บรรยายกาศในการเรียนสนุกและเป็นไปอย่าราบรื่น

การประเมินอาจารย์ 

ในการจัดกิจกรรมในวันนี้อาจารย์คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่นักศึกษาเป็นอย่างดีช่วยสอนในสิ่งที่นักศึกษาไม่เข้าในให้แนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อให้นักศึกษาแก้ปัญหาให้ตนเองคอยให้กำลังใจเป็นอย่างดี 

E                        N                           D


        
   

บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ ครั้งที่ 15

บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันอังคาที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เวลา13:30 - 17:30 น. 


S       T      A      R       T

Science Experiences Management for Early Childhood
(การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)

ตอนบ่ายโมงมาเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์กานน 

ความรู้ที่ได้รับ

  • อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามหน่วยที่ได้รับ (หน่วยกล้วย) เพื่อให้นักศึกษาได้สนทนาปรึกษากันกลุ่ม เกี่ยวกับการสอนในแต่ละวันโดยแบ่งตามหัวข้อ คือ ชนิดสอนวันจันทร์  ลักษณะสอนวันอังคาร การถนอมหรือดูแลรักษาสอนวันพุธ ประโยชน์สอนวันพฤหัส และข้อควรระวังสอนในวันศุกร์
  • อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนโดย ในหน่วยหนึ่งให้เขียน 5 วัน โดยอาจารย์จะคอยช่วยเหลือในกลุ่มจึงแบ่งกันใครได้วันไหนก็เขียนในวันนั้นถ้าส่งสัยอะไรสามารถสอบถามอาจารย์ได้ เพื่อจะได้แผนการสอนที่สมบูรณ์ 
  • ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์นั้นต้องสามารถนำไปบูรณาการณ์กับศาสตร์ต่างๆได้นำไปใช้ได้ในชีวิตจริงต้องเลือกกิจกรรมให้เหมาะกับแต่ละวันในการสอน
  • ในการทบทวนความรู้เดิมของเด็กทำให้เรานั้นรู้ว่าความรู้เดิมเด็กนั้นมีมากแค่ไหนเราจะได้จัดการวางแผนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • ตัวอย่างการเขียนแผนการสอน ประจำวันพุธ หน่วยกล้วย อ.2
  1. วัตถุประสงค์ : 1. ให้เด็กรู้จักการถนอมกล้วยในแบบต่างๆ 2. เด็กอธิบายความต่างของกล้วยได้ว่าระหว่างกล้วยที่ผ่านการถนอมกับกลัวยสุกปกติแตกต่างกันอย่างไร
  2. สาระการเรียนรู้ : ดูได้จากในหนังสือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
  3. ขั้นนำ : ใช้กิจกรรมต่างๆนำเด็กเข้าสู่บทเรียนโดยเกมการศึกษา ภาพตัดต่อ
  4. ขั้นสอน : นำกล้วยที่ผ่านการถนอมและกล้วยสุกปกติมาให้เด็กได้สังเกตุชมดมสัมผัส ให้เด็กแสดงความคิดเห็นให้ด็กอธิบายว่ากล้วยทั้ง 2 แบบต่างกันอย่างไร
  5. ขั้นสรุป: ครูจะเตรียมตารางและสติกเกอร์ โดยแจกสติกเกอร์ให้แก่เด็คนละ 1 อัน ให้เด็กนำมาติดในตาราง ตารงจะแบ่งเป็น 2 ช่อง คือ กล้วยตาก และ กล้วยสุก เด็กๆชอบกล้วยแบบใดให้นำสติกเกอร์ไปติดในช่องนั้น ร่วมกันสรุปโดยช่วยกันนับสติกเกอร์ดูว่าสติกเกอร์ในช่องใดมีมากที่สุด
  6. การประเมิน : จะมีการประเมินหลายหลายแบบ แต่ในกิจกรรมนี้จะประเมินจากการสังเกต สังเกตว่าเด็กทำได้ตามจุดปรสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
  7. สื่อ : กล้วยตาก / กล้วยสุกปกติ / เกมการศึกษา(ภาพตัดต่อ) / ตาราง / สติ๊กเกอร์ 
  8. การบูรณาการ : คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สังคม


คำศัพท์

Dried banana = กล้วยตาก
Lesson Plans = การวางแผนการสอน
transformation = การแปรรูป
the grid = ตาราง
sticker = สติ๊กเกอร์

* * * * ******************** * * * * 

 รูปประกอบกิจกรรม





😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸😸 😸😸😸😸😸😸😸😸😸 😸😸😸😸😸😸😸😸😸

การประยุกต์ใช้ 

  • นำความรู้ไปเขียนแผนการสอนที่ถูกต้องสมบูรณ์ได้ มีการวางแผ่นในการสอนว่าจะสอนอย่างไรเหมาะกับเด็กไหมได้แนวคิดใหม่ที่สารมารถนำไปใช้ได้

การประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนและร่วมมือกับเพื่อนๆ ช่วยกันทำงานและวางแผน

การประเมินเพื่อน

เพื่อนๆน่ารักช่วยเหลือกันในการทำงาน มีความสามัคคี ช่วยเหลือและเปลี่ยนความคิดกันระหว่างกลุ่ม

การประเมินอาจารย์ 

อาจารย์เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้คิดออกแบบแผนการสอนของตนเองจากนั้นอาจารย์จะคอยเพิ่มเติมในสิ่งที่นักศึกษาพลาดไปในบางจุด อาจารย์ใสใจนักศึกษา💖



E              N                 D





บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้   ครั้งที่ 14

บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันอังคาที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

(บันทึกพิเศษ)


S       T      A      R       T

Science Experiences Management for Early Childhood
(การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)


........

ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก มีคณะศึกษาดูงานจาก
วิทยาลัย pädagogische hochschule tirol ประเทศออสเตรีย
นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กลุ่ม 102 ได้เป็นตัวแทนของสาขา
ไปเป็นส่วนหนึ่งของการสาธิตการสอนเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงเปียโน ในหน่วย ผีเสื้อ
สอนโดย อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
โดยการสอนจะใช้ภาษและเพลงเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด มีสื่อคือหมวกผีเสื้อ และเปียโน

ภาพบรรยากาศ


ผีเสื้อน้อย By Me 😗

 

รอคอยด้วยความตื่นเต้นต้องถ่ายรูปกันหน่อย



 Show Time  💋😜😺


Happy  Ending  💞😚😗😘🙆

* * * * ******************* * * * * 

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมในครั้งนี้

  • สนุกกับการได้ทำกิจกรรมในครั้งนี้รู้สึกภูมิใจทีได้มีส่วนร่วมในการสาธิตเป็นตัวแทนของสาขา
  • ได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ได้เห็นความสามัคคี จึงทำให้งานในครั้งนี้ออกมาประสบความสำเสร็จ