วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที 5 วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ.2559 เวลา13:30 - 17:30 น. 


....................START.....................

Science Experiences Management  for  Early Childhood
(การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)
ในสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์นั้นได้มอบหมายงาน ให้นักศึกษานั้นไปประดิษสื่อเป็นของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คนละหนึ่งชิ้นห้ามซ้ำกัน และให้นำมานำเสนอหลังจากดู VDO เสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์เรื่อง "อากาศมหัศจรรย์" จบ เพื่อที่อาจารย์จะได้ดูว่ามีขอผิดพลาดอะไรต้องปรับแก้หรือพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง ในสัปดาห์นี้ได้เปลี่ยนสถานที่เรียนจากห้องเรียนที่เรียนปกติมาเป็นห้องภาพยนต์ของสำนักวิทยบริการแทน 

.............................................................................................

ของเล่นที่ได้เลือกทำในครั้งนี้คือออออ...... "กลองดีดดึ๋งดึ๋ง" มีอุปกรณ์ขั้นตอนการทำ ดังนี้

อุปกรณ์ 
  • แก้วกาแฟกระดาษ
  • ลูกโป่ง
  • ปากกาสำหรับตกแต่ง 
  • กรรไกร
รู ป ภ า พ ก ร ะ ก อ บ

 

ขั้นตอนการทำ
1) นำลูกโป่งมาตัดตามดังรูป


2) นำลูกโป่งมาตัดแบ่งครึ่งตามแนวยาวดังรูป 


3) นำลูกโป่งเหลือๆ มาตัดให้เป็นวงเหมือนดังรูป

4) นำลูกโป่งที่ตัดแบ่งครึ่งในแนวยาวมาทาบวัดกับปากแก้วกาแฟ

5) นำลูกโป่งที่ตัดเป็นวงมามัดตรงปากแก้วกาแฟเพื่อขึงลูกโป่งไว้กับปากแก้วดังรูป




 6) เมื่อขึงลูกโป่งตรงปากแก้วเรียบร้อยแล้วให้นำกรรไกรมาตัดส่วนของลูกโป่งที่เกินออก


7) ตกแต่งเล็กน้อย แล้วเราก็จะได้ >>>> กลองดีดดึ๋งดึ๋ง 



>>>ร็ ล้ <<<<

วิธีเล่น
ดึงหน้ากลองให้ยืดแล้วปล่อย  จะทำให้เกิดเสียง

ข้อสรุปวิทยาศาสตร์
เสียงเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง เกิดจากการสั่นสพเทือนของวัตถุ และเสียงจะเคลื่อนที่ออกไปโดยผ่นตัวกลางเป็นทอดๆ ถ่ายโอนกับโมเลกุลในอากาศ ส่งผลให้คลื่นเสียงเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงมายังหูของเรา ทำให้เรานั้นได้ยินเสียง
จากกลองดีดดึ๋งดึ๋ง เสียงที่เราได้ยินนั้นเกิดจากการที่เรานั้นดึงหน้ากลองแล้วปลอย ทำให้ลูกโป่งนั้นสั่นเกิดการสะท้อนไปมาของเสียงภายในกลองทำให้สียงดังออกมาในเราได้ยิน ยิ่งเราดึงหน้ากลองที่เป็นลูกโป่งให้สูงเท่าไหร่แล้วปล่อย ก็จะทำให้เกิดเสียงดังขึ้นเท่านั้น

................................................................................

ความรู้ที่ได้รับ

  • ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ได้
  • อากาศ คือ สิ่งที่อยู่ทุกที่รอบตัวเราถึงแม้เราจะมองมันไม่เห็นแต่อากาศมีอยู่จริงๆ มนุษย์ สัตรื พืชล้วนแต่ต้องใช้อากาศในการหายใจ อากาศเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำรงชีวิต ซึ่งอากาศเองมีนำหนัง ต้องการที่อยู่ มีแรงดัน
  • การทดลองที่หลายหลายเพื่อพิสูจว่าอากาศนั้นมีอยู่จริง

คำศัพท์

Organism = สิ่งมีชีวิต
System = ระบบ 
Movie = ภาพยนต์
Heavy = หนัก
Move = ย้าย


รูปภาพประกอบ





.......................................................................................

การประยุกต์ใช้

  • การได้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องอากาศทำให้เรานั้นไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กในเรื่องวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเด็กเพื่อเด็กจะได้รับความรู้ที่ถูกต้อง
  • การทดลองต่างนั้นสามารถนำไปจัดกิจกรรมที่น่าสนุกให้แก่เด็กๆได้เพื่อให้เด็กได้สนุกและทำให้เกิดความอยากรู้ในการทำกิจกรรม
  • การออกไปนำเสนอนั้นฝึกในการแสดงความคิดเห็นและยอมรัปความคิดเห็นของผู้อื่นเช่นกัน รวมไปถึงได้เห็นสื่อของเล่นที่หลากหลาย

การประเมิน

การปะเมินตนเอง

เตรียมงานในการนำเสนอมา ตั้งใจรับฟังในสิ่งที่อาจารย์แนะนำ 

การประเมินเพื่อน

เพื่อนเตรียมของเล่นที่จะนำเสนอกันมาอย่างหลากหลาย 

การประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้คำแนะนำ และช่วยให้ความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่นักศึกษานั้นไม่รู้เพื่อจะได้เกิดการแก้ไขให้ถูกต้องที่สุด


E   N   D



วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 13:30 - 17:30 น. 

.................S T A R T................

Science Experiences Management for Early Childhood

(การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)

ในวันนี้อาจารย์ได้ทำข้อตกลงเรื่องการเรียนใน Course Syllabus โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าจะเพิ่มเติมอะไรที่ต้องการจะเรียนรู้เพิ่มเติมนอกจากผลการเรียนรู้ดังนี้  คือ 
  1. คุณธรรมจริยธรรม > ซื่อสัตย์ สุจริตในการทำงาน การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย และเคารพกฎระเบียบข้อตกลงของห้อง
  2. ความรู้  > อธิบายหลักการความสำคัญแนวคิที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้ วิเคราะห์เลือกจิกวิทยาการเรียนรู้ที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม อธิบายสาระการเรียนรู้ ทักษะทางวิยาสาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ วิเคราะหเลือกรูปแบบการจักจัดประสบการณ์สำหรับเด็กได้ ออกแบแลัเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้ วิเคราะ เลือสื่ออุปกรณ์ในการณ์จัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม วางแผนการประเมินการเรียนรู้ได้ อธิบายบทบาทของครู ออกแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ และแปลความหมายความรู้ภาษาไทยเป็นอังกฤษได้อย่างน้อย 30 คำ
  3. ทักษะทางปัญญา > ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กได้อย่างสร้างสรรค์ ประเมินปัญหาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและสืบข้อมูลเพื่อใช้ในการสนับวนุนหรืออ้างอิงนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สรุปองค์ความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาตนเอง 
  4. ทักษะความสัมพัธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ > ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร การนำเสนออย่างถูกต้องเหมาะสม ให้ความร่วมมือช่วยเหลือการทำงานกลุ่ม รับผิดชอบในผลงานของตนเองและกลุ่ม แสดงความคิดเห็นประเด็นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งตนเองและกลุ่มได้ และนำเสนอองค์ความรู้จากการทดลองและแหล่งเรียนรู้ที่สร้างเครือข่ายไว้ได้
  5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ > ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร นำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ เพื่อการค้นคว้า สนับสนุนในการเรียน และ เลือกช่องทางในการสื่อสารและนำเสนอได้อย่างเหมาะสมกับโอกาสและเวลา
  6. การจักการเรียนรู้ > ประยุกต์การศึกษากรณีตัวอย่างจากห้องเรียน การสังเกตการสอน แบบต่างๆการวางแผน และออกแบบการสอนได้ 

ความรู้ที่ได้รับ

  • กิจกรรมที่ 1 คัดลายมือ หัวกลมตัวเหลี่ยม 
  • กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ได้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จากนั้นแจกกระดาษ A4 สีฟ้า 1 แผ่น ขาว 1 แผ่น คลิปหนีบกระดาา 1 อัน โดยให้แต่ละกลุ่มนั้นทำสื่อการสอนเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ในหัวข้อ "อากาศ" จากนั้นนำแนวคิดของแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าชั้น ในกลุ่มได้คิดกันว่าจะทำเกี่ยวกับฤดูฝน โดยใช้การเล่านิทาน โดยมีกระบวนการคิดดังนี้  
กระบวนการคิดและดำเนินงาน
  1. ระดมความคิดว่าจะออกแบบย่างไร  
  2. ลงมือทำตามขั้นตอนและแนวคิดที่วางไว้
  3. ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

คำศัพท์

Tale = นิทาน
Season = ฤดูกาล
Air = อากาศ
Paper = กระดาษ
Address = ที่อยู่

........................................................................

ภาพประกอบกิจกรรม





การทดลอง การเปรียบเทียบ ว่ากระดาษกับคลิปอันไหนลงถึงพื้นก่อนกัน


กังหันลม


เรือใบ


วงล้อฤดูกาล


พัด

..........................................................................

การประยุกต์ใช้

  • ถึงแม้จะมีวัสดุอยู่จำกัดแต่สามารถนำมาใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างหลากหลายการนำมาบูรณาการณ์ได้หลายรูปแบบหลากหลายวิชา 
  • ได้แนวคิดจากเพื่อน และความรู้จากอาจารย์มาเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ในแบบของตนเอง

การประเมิน

การประเมินตนเอง

ตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี

การประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรม มีความร่วมมือและสามัคคีกันเป็นอย่างดี 

การประเมินอาจารย์

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเองก่อนจากนั้นอาจารย์จะคอยเพิ่มเติมความรู้รวมไปถึงแก้ไขในสิ่งที่นักศึกษาเข้าใจผิดด้วย เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้อย่างแท้จริง


E N D


บั น ทึ ก พิ เ ศ 

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559

วันที่ 18-28 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 9:00-19:00 น. (เข้าชมฟรี)

ณ ศูนย์แสดงและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี (Hall 2-8)


Intro......

ในบันทึกนี้เป็นบันทึกกการดูงานกิจกรรมในวันที่ 28สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559  งานนี้จัดขึ้นเพื่อ เทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งนวัฒกรรมไทย โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมโดยมีีความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ  เพื่อที่ประชาชน เยาวชน จะได้เข้าถึงข้อมูลความรู้ ได้รับประสบการณ์ ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบสนุกสนาน 

ภ า พ กิ จ ก ร ร &





























สิ่งที่ได้รับจากมหกรรมวิทยาศาสตร์

  • ได้เห็นถึงความหลายของนวัฒกรรมใหม่ๆ และความก้าวหน้าของโลก รวมไปถึงความก้าวหน้าของประเทศไทย ได้รับความรู้มากมาย 
  • ในงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้จะเห็นได้ชัดเจน ว่าผู้ปกครองรวมถึงโรงเรียน ต่างๆนั้นเห็นความสำคัญในเรื่องของวิทยาศาสตร์ เพราะผู้ปกครองนั้นได้นำบุตรหลานของตนเองนั้นมาร่วมกิจกรรมต่างๆภายในงาน เด็กๆดูมีความสุขกันมากสนุกในการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ สิ่งที่ไม่เคยทำ เมื่อได้เห็นแบบนี้แล้ว ก็คิดว่าจะนำความรู้ต่างมาเป็นแบบในการจัดการเรียนรู้ที่สนุก และเหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย

E N D